ปลอมมีกี่แบบ??

12

เมื่อเราสูญเสียฟันไป ทั้งจากการถอนฟันหรือจากอุบัติเหตุ เราจึงต้องพบทันตแพทย์เพื่อพิจารณาใส่ฟันปลอม ทราบหรือไม่ว่า ฟัน

ปลอมมีกี่แบบ??
1.ฟันปลอมบางส่วนถอดได้ ใช้เมื่อยังมีฟันเหลืออยู่บางส่วน ฟันปลอมชนิดนี้จะใส่เพื่อเติมเต็มช่องว่างฟันที่หายไป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนตำแหน่งของฟัน โดยมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก สามารถถอดออกมาทำความสะอาดภายนอกช่องปากได้ แต่ประสิทธิภาพการใช้งานแตกต่างจากฟันธรรมชาติพอสมควร ผู้ป่วยจำเป็นต้องฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อแก้มและลิ้นให้คุ้นเคยกับการใช้ฟันปลอมชนิดนี้ เพื่อฝึกการพูดออกเสียง และการบดเคี้ยวให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำฐานฟันปลอมชนิดนี้มี 3 แบบ
– ฐานพลาสติกมีลักษณะคล้ายพลาสติกชนิดแข็ง ส่วนฐานมีความหนาอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร และปิดคลุมเนื้อเยื่อเหงือกหรือเพดานปาก มีโอกาสแตกหักได้ง่ายกว่าชนิดอื่นและมีข้อเสียจากรูพรุนของอะคริลิกที่ทำให้เกิดกลิ่นหรือคราบฝังลึกลงในผิวอะคริลิกได้
– ฐานโลหะ เป็นฐานฟันปลอมที่มีความแข็งแรงสามารถออกแบบให้ส่วนฐานที่เป็นโลหะปิดทับเนื้อเยื่อเหงือกหรือเพดานปากให้บางและน้อยที่สุดได้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการออกเสียงพูดไม่ชัดหรือการปิดพื้นที่สัมผัสอาหารในขณะรับประทาน แต่พื้นผิวบางส่วนที่รองรับฟันปลอมก็จำเป็นต้องใช้วัสดุชนิดอะคริลิกร่วมด้วย
– ฐานพลาสติกยืดหยุ่น (Valplast) เป็นฐานฟันปลอมที่มีความยืดหยุ่น บิดงอได้ มีน้ำหนักเบาไม่แตกหักได้ง่ายเหมือนชนิดอื่นๆ
2.ฟันปลอมทั้งปาก ใช้สำหรับผู้ที่ไม่มีฟันบนหรือฟันล่างเหลืออยู่เลย ซึ่งฐานของฟันปลอมก็มีทั้งแบบพลาสติกกับฐานโลหะ เช่นเดียวกับฟันปลอมบางส่วนถอดได้
3.ครอบฟัน เป็นฟันปลอมบางส่วนชนิดติดแน่น โดยใช้วัสดุมาครอบหรือคลุมฟันทั้งซี่ เพื่อทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น การครอบฟันนั้นมักใช้โลหะแล้วเคลือบภายนอกด้วยพอร์ซเลนหรือเซรามิก เป็นส่วนประกอบซึ่งสามารถปรับสีให้เข้ากับสีฟันตามธรรมชาติได้
4.สะพานฟัน เป็นฟันปลอมบางส่วนติดแน่นที่มีส่วนของครอบฟันยึดติดกับฟันธรรมชาติทั้งสองข้าง และมีส่วนของฟันแขวนอยู่ตรงกลางใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป 1-2 ซี่ ไม่ต้องมีตะขอ ไม่ต้องมีแผ่นเหงือกอะคริลิคให้เกะกะ เราไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เอง
5.รากฟันเทียม ผลิตจากวัสดุไทเทเนียม แล้วฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่สูญเสียฟันธรรมชาติไป โดยทำหน้าที่ทดแทนรากฟัน เพื่อรองรับฟันปลอมแบบถอดได้, ครอบฟันหรือสะพานฟัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการสูญเสียฟันธรรมชาติภายในช่องปากของเรา

ย้อนกลับด้านบน