ฟันคุด (Impacted tooth) คือ ฟันที่ขึ้นไม่ได้ตามปกติในช่องปาก บางซี่โผล่ขึ้นมาเพียงบางสวย บางซี่จมอยู่ในกระดูขากรรไกรทั้งซี่ ซึ่งฟันอาจจะฝังตัวอยู่ในกระดูขากรรไกรในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ตะแคง ตั้งตรง ขวาง หรือขึ้นนอกแนวระนาบ ซึ่งมักจะเกิดกับฟันซี่ในสุด และฟันคุดทุกซี่มักจะอยู่ชิดและดันฟันซี่ข้างเคียงเสมอ โดยฟันคุดมักพบในผู้มีอายุ 17-25 ปี เพราะเป็นช่วงที่ฟันแท้ทั้งหมดกำลังขึ้นอย่างเต็มที่ เมื่อทันตแพทย์ตรวจพบฟันคุดในปากคนไข้ จะแนะนำให้ถอดออก โดยไม่ต้องรอให้มีการแสดงออกการเจ็บปวด เพราะปล่อยที่ไว้นานฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ และอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้
ประเภทของฟันคุด
- ฟันคุดชนิดล้มไปด้านหน้า (mesioangular impaction) เป็นฟันที่หักเป็นมุมไปด้านหน้าของปาก ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด
- ฟันคุดชนิดตั้งตรง (vertical impaction) เป็นฟันที่มีลักษณะงอกไม่พ้นขอบเหงือกทั้งหมด
- ฟันคุดชนิดหันส่วนครอบฟันออก (distoangular impaction) เป็นลักษณะฟันที่งอไปข้างหลังของปาก
- ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ (horizontal impaction) เป็นลักษณะที่พบได้น้อยที่สุด โดยฟันกรามจะทำ 90 องศา ไปด้านข้าง เข้าไปในรากฟันของกรามซี่ที่สอง
นอกจากนี้แล้ว ฟันคุด ยังสามารถจำแนกโดยใช่เกณฑ์ว่าฟันนั้นยังอยู่ในขากรรไกรทั้งหมดหรือไม่ หากฟันคุดไม่สามารถโผล่พ้นกระดูกขากรรไกรได้ จะเรียกว่า ฟันคุดโดยต้องกรอกระดูกของฟัน (bony impaction) และฟันคุดที่สามารถโผล่พ้นกระดูกขากรรไกรได้ แต่ไม่สามารถทะลุผ่านเหงือกได้เลย หรือสามารถผ่านได้บางส่วนเรียนว่า ฟันคุดโดยไม่ต้องกรอกระดูกฟัน (soft tissue impaction)
วิธีการรักษา
ก่อนการรักษา ฟันคุด ทันตแพทย์จะต้องถ่ายภาพรังสีหรือเอ็กซเรย์ เพื่อดูลักษณะของฟันคุดก่อน แล้วค่อยวินิจฉัยว่าจะรักษาด้วยวีไหน โดยสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
- การถอน ซึ่งจะสามารถทำได้เมื่อ ฟันคุดนั้นมีลักษณะตั้งตรง ไม่เอียงมากเกินไป และฟันต้องโผล่พ้นเหงือกขึ้นมามากพอสมควร โดยขั้นตอนการถอนจะมีลักษณะเหมือนการถอนฟันปกติทั่วไป นั้นคือ ทันตแพทย์จะฉีดยาชาระงับอาการปวด แล้วใช้เครื่องมือดึงฟันออกมา ล้างทำความสะอาดแผลและเย็บ
- การผ่าตัด จะเป็นวิธีรักษาฟันคุดที่มีรูปร่างผิดปกติอย่างมาก เช่น อยู่ในลักษณะนอน ตะแคง เอียงมาก และไม่โผล่พ้นออกมานอกเหงือก ทำให้ต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อนำฟันคุดออกมา โดยแพทย์จะทำการฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึก จากนั้นจะเปิดเหงือกเพื่อให้เห็นฟันแล้วใช้เครื่องมือกรอกระดูดออก ตัด แซะ ฟันคุดออกมา แล้วล้างทำความสะอาดแผลและเย็บแผล ซึ่งใช้เวลาในการทำไม่นาน เพียงประมาณครึ่งชั่วโมง
อาการแทรกซ้อน
ส่วนใหญ่หลังจากผ่าฟันคุดจะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้ม อ้าปากได้น้อยลง แต่การทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะที่ทันตแพทย์จ่ายให้จะช่วยบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้แล้ว ผลข้างเคียงของการผ่าตัดฟันคุดที่พบได้ยังมี อาการเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ ซึ่งควรจะรีบไปพบแพทย์ และในบางครั้งการผ่าตัดฟันคุดยังอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่าง อาการชาบริเวณริมฝีปากล่างและคาง อาการนี้เป็นผลจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟันในขากรรไกรล่าง เพราะบางครั้งเส้นประสาทนี้อยู่ใกล้ชิดกับฟันคุดมากจนไม่สามารถแยกจากกันได้ โดยอาการชาจะอยู่นานไม่นานแล้วแต่ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท บางคนเป็นวัน เดือน หรืออาจะเป็นปีได้ แต่อาการชาเหล่านี้จะไม่รบกวนการดำรงชีวิต หรือการรับรู้รสชาติอาหาร แต่เพื่อลดอาการเสี่ยงดังกล่าว ทันตแพทย์มักแนะนำให้ผ่าฟันคุดตั้งแต่อายุประมาณ 18-25 ปี เนื่องจากรากฟันยังไม่ยาวจนไปชิดกับเส้นประสาท
การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด
- กัดผ้าก๊อซนาน 1-2 ชั่วโมง แต่สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ
- ในช่วงวันแรกของการผ่าตัด ห้ามบ้วนปาก เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ ถ้าอยากจะบ้วนปลากสามารถทำได้ในวันที่สอง แต่ไม่ควรบ้วนน้ำบ่อยๆ หรือบ้วนแรงเกินไป เพราะจะทำให้เลือกแข็งตัวปิดแผลหลุดออกแล้วเลือดใหม่จะไหลซึมออกมาได้
- หลังคายผ้าก๊อซออกแล้ว ถ้ายังมีเลือกซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดกัดใหม่อีก 2 ชั่วโมง
- ในวันแรกหลังการผ่าตัดควรประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม แต่พอในวันที่ 2 ของการผ่าตัดให้เปลี่ยนมาประคบน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดอาการบวม
- รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งให้ครับ
- งดการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วงวันแรกๆ ของการผ่าตัด
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ในช่วงวันแรกๆ ของการผ่าตัด
- การแปรงฟัน สามารถแปรงได้ตามปกติ และควรจะดูแลช่องปากอย่างถูกต้องด้วย
- หลังจากผ่าตัดครบ 7 วัน ทันตแพทย์จะนัดเข้ามาตัดไหมและดูอาการอีกครั้ง
- หากมีเลือดไหลไม่หยุด ปวดแผลมากๆ หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ ให้รีบไปพบทันตแพทย์ก่อนวันนัดได้เลย
ปัญหาฟันคุด เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานให้แก่คนไข้เป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันการผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวและเจ็บอย่างที่คิด เมื่อตรวจพบปัญหาควรจะรีบไปพบทันตแพทย์ตั้งแน่เนิ่นๆ แม้ว่าจะยังไม่มีอาการปวดใดๆ ก็ตาม