ปัญหาการสบฟัน คืออะไร มาหาคำตอบกัน

ปัญหาการสบฟัน คืออะไร มาหาคำตอบกัน

            ใครที่กำลังคิดจะจัดฟัน เชื่อว่าต้องได้เจอคำว่า การสบฟัน อย่างแน่นอน เพราะการจัดฟัน เป็นการแก้ไขปัญหาการสบฟันได้เป็นอย่างดี วันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักปัญหาการสบฟันในช่องปากของเราค่ะ

การสบฟัน คือความผิดปกติของฟันที่ทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารของเราน้อยลง แล้วยังรวมถึงอาการที่ฟันของเราอยู่ในแนวที่ไม่ถูกต้อง ฟันล่างกับฟันบนไม่สบกัน หรือว่าสบกันกระแทกกันอย่างรุนแรงผิดปกติ ซึ่งสิ่งผิดปกติเหล่านี้สามารถส่งผลต่อขากรรไกรและข้อต่อขากรรไกร ทำให้เรามีปัญหาในการบดเคี้ยว โดยการสบฟันนั้นยังสามารถแบ่งออกได้หลายเคส ดังนี้

  1. การสบฟันลึก เป็นฟันที่มีลักษณะฟันบนสบลงมาลึกมาก จนแทบจะมองไม่เห็นฟันล่าง ซึ่งมักจะเกิดในเด็กที่ยังอยู่ในช่วงฟันน้ำนม พอหลังจากฟันแท้ขึ้นมาอาการเหล่านี้ก็อาจจะลดลงไปเองได้ แต่บางคนก็อาจจะยังเป็นอยู่ ซึ่งต้องควรไปปรึกษาแพทย์ เพราะบางคนมีปัญหานี้มาจนกระทั้งมีผลกระทบต่อกระดูกขากรรไกร
  2. ฟันหน้าสบไขว้หรือฟันกัดคล่อม โดยเป็นลักษณะที่ฟันล่างจะคล่อมขึ้นมาอยู่หน้าฟันบน ซึ่งเป็นความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง เมื่อต้องบดเคี้ยวอาหารอาจทำให้เกิดการอักเสบจากแรงของการสบฟัน รวมทั้งปัญหานี้ยังทำให้ฟันหน้าไม่สามารถตัดอาหารให้ขาดได้
  3. ฟันกัดเบี้ยว เป็นปัญหาที่มีลักษณะฟันบนและฟันล่างมีเส้นกึ่งกลางที่ไม่เท่ากัน โดยอาจจะเอียงไปด้านใดดานหนึ่ง กระดูดของขากรรไกรอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจส่งผลถึงใบหน้าที่อาจจะเบี้ยวๆ เอียงๆ ไปด้วย
  4. ฟันหน้าเปิด เป็นการสบฟันที่มีผลต่อการกัดโดยตรง เพราะคนที่มีอาการนี้จะไม่สามารถกัดอะไรให้ขาดได้ด้วยฟันหน้า โดยฟันหน้าบนและล่างไม่ประกบชิดกัน ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร
  5. ฟันซ้อนเก เป็นลักษณะที่ฟันของเราเกิดอาการซ้อนทับกัน สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของขนาดฟันและส่วนโค้งของฟันแต่ละซี่ ซึ่งการสบฟันประเภทนี้อาจจะยากต่อการจัดฟันสักหน่อยแต่ก็สามารถทำได้
  6. ฟันห่าง เป็นฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันมากเกินไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการผลัดเปลี่ยนฟันน้ำนมและฟันแท้
  7. ฟันยื่น เป็นฟันที่มีลักษณะฟันบทยื่นออกมาด้านหน้ามากเกินไป สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว

ทุกปัญหาการสบฟันที่กล่าวมานี้ สามารแก้ไขได้ด้วยการจัดฟัน เพราะการจัดฟันจะเข้าไปจัดโครงสร้างฟันในปากของเราทั้งหมด ซึ่งแพทย์สามารถกำหนดทิศทางและรูปแบบฟันที่ดีให้แก้เราได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ย้อนกลับด้านบน